ข้อมูลพื้นฐาน
สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานสำคัญขององค์การบริหารส่วนตำบลย่านยาว
ที่ตั้ง
ตำบลย่านยาว อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอสามชุก ไปทางทิศใต้ประมาณ 7 กิโลเมตร สามารถเดินทางติดต่อได้โดยถนนสายสุพรรณบุรี - ชัยนาท
เนื้อที่
ตำบลย่านยาว มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 37 ตารางกิโลเมตร หรือ ประมาณ 23,125 ไร่
ภูมิประเทศ
อบต.ย่านยาวมีลักษณะพื้นที่เป็นที่ราบลุ่มเป็นส่วนใหญ่เหมาะแก่การทำการเกษตรเนื่องจากดินมีคุณภาพและมีแหล่งน้ำที่สามารถนำน้ำมาใช้ประโยชน์ได้
อาณาเขตติดต่อ
- ทิศเหนือ ติดต่อกับ เทศบาลตำบลสามชุก อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี
- ทิศใต้ ติดต่อกับ อบต.วังหว้า , อบต.วังน้ำซับ อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับ อบต.วังลึก อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับ อบต.บ้านสระ อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี
จำนวนหมู่บ้าน 8 หมู่บ้าน
จำนวนหมู่บ้านในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล มีทั้งหมด 8 หมู่บ้าน ได้แก่
- หมู่ที่ 1 บ้านลำพระยา
- หมู่ที่ 2 บ้านวังหว้า
- หมู่ที่ 3 บ้านย่านยาว
- หมู่ที่ 5 บ้านวังหิน
- หมู่ที่ 6 บ้านบางขวาก
- หมู่ที่ 7 บ้านหนองแขม
- หมู่ที่ 8 บ้านย่านยาว
- หมู่ที่ 9 บ้านท่าทอง
ประชากร
จากข้อมูลและสถิติประชากรตามทะเบียนราษฎร ตำบลย่านยาวมีจำนวนประชากรรวมทั้งสิ้น ๕,๔๓๓ คน แยกเป็นชาย ๒,๕๗๓ คน หญิง ๒,๘๖๐ คน จำนวนครัวเรือน ๒,๐๒๔ ครัวเรือน ( ข้อมูล เดือน มีนาคม ๒๕๕๗ ) ความหนาแน่นของประชากรโดยเฉลี่ย 1๔๘.๘๑ คน / ตารางกิโลเมตร
1 | บ้านลำพระยา | ๒๐๖ | ๒๘๓ | ๒๙๐ | ๕๗๓ |
2 | บ้านวังหว้า | ๒๘๖ | ๔๑๖ | ๔๓๕ | ๘๕๑ |
3 | บ้านย่านยาว | ๓๕๓ | ๕๒๙ | ๖๐๘ | ๑,๑๓๗ |
4 | บ้านวังหิน | ๓๒๕ | ๓๘๘ | ๔๖๓ | ๘๕๑ |
5 | บ้านบางขวาก | ๔๕๐ | ๓๔๑ | ๔๐๘ | ๗๔๙ |
6 | บ้านหนองแขม | ๒๓๑ | ๓๘๙ | ๓๗๕ | ๗๖๔ |
7 | บ้านย่านยาว | ๑๒๐ | ๑๖๒ | ๑๙๔ | ๓๕๖ |
8 | บ้านท่าทอง | ๕๓ | ๖๕ | ๘๗ | ๑๕๒ |
รวม | ๒,๐๒๔ | ๒,๕๗๓ | ๒,๘๖๐ | ๕,๔๓๓ |
สภาพทางเศรษฐกิจ
อาชีพ
ประชากรส่วนใหญ่ของตำบลย่านยาว ประกอบอาชีพการเกษตรกรรม เนื่องจากมีน้ำที่สมบูรณ์ และประกอบด้วยศักยภาพของดิน มีความเหมาะสมในการเพาะปลูก ซึ่งส่วนใหญ่ พืชปลูกได้แก่ ข้าว ซึ่งปลูกประมาณ 11,395 ไร่ รองลงมา คือ การปลูกไม้ดอก ผลไม้ และอื่นๆ ซึ่งมีเนื้อที่ประมาณ 6,000 ไร่ นอกจากการเกษตรกรรมแล้ว ยังประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป และค้าขายอาหาร ร้านค้าปลีก จำนวนหนึ่ง
หน่วยธุรกิจในเขต องค์การบริหารส่วนตำบล
- โรงงาน 1 แห่ง
- โรงสีข้าว 2 แห่ง
สภาพทางสังคม
การศึกษา
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 3 แห่ง
- โรงเรียนประถมศึกษา จำนวน 3 แห่ง
- ศูนย์การเรียนชุมชน จำนวน 1 แห่ง
- ที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้าน จำนวน 8 แห่ง
- หอกระจายข่าว จำนวน 8 แห่ง
- ศูนย์ข้อมูลประจำหมู่บ้าน จำนวน 8 แห่ง
- ศูนย์ข้อมูลประจำตำบล จำนวน 1 แห่ง
- ศูนย์ฝึกอาชีพ จำนวน 1 แห่ง
สถาบันและองค์กรทางศาสนา
- วัด จำนวน 3 แห่ง
สาธารณสุข
- สถานีอนามัยประจำตำบล จำนวน 2 แห่ง
ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
- ที่พักสายตรวจ จำนวน 1 แห่ง
แหล่งน้ำธรรมชาติ
- บึง , หนอง และอื่น ๆ จำนวน 3 แห่ง
- แม่น้ำ จำนวน 1 สาย
การบริการพื้นฐาน
การคมนาคม
การคมนาคมทางบกโดยรถยนต์ ทั้งภายในตำบลและระหว่างตำบล มีความสะดวกรวดเร็ว เนื่องจากได้มีโครงการปรับปรุงถนนในเขตตำบลอย่างต่อเนื่อง โดยมีเส้นทางที่สำคัญภายในตำบล ดังนี้
- ถนนทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 340 ผ่านตำบลย่านยาว นอกจากนี้ยังมีรถโดยสารประจำทางวิ่งให้บริการอีกด้วย
การโทรคมนาคม
- ตู้โทรศัพท์สาธารณะ จำนวน 10 ตู้
การไฟฟ้า
- ไฟฟ้าเข้าถึงครบทั้ง 8 หมู่บ้าน
- จำนวนประชากรที่ใช้ไฟฟ้าคิดเป็นร้อยละ 80 ของประชากรทั้งหมดในตำบล
แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น
- บ่อโยก จำนวน 3 แห่ง
- ถังเก็บน้ำฝน จำนวน 12 แห่ง
- ประปาหมู่บ้าน จำนวน 5 แห่ง