ข้อมูลพื้นฐาน

สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานสำคัญขององค์การบริหารส่วนตำบลย่านยาว

ที่ตั้ง

     ตำบลย่านยาว อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอสามชุก ไปทางทิศใต้ประมาณ  7  กิโลเมตร  สามารถเดินทางติดต่อได้โดยถนนสายสุพรรณบุรี - ชัยนาท 

เนื้อที่

     ตำบลย่านยาว  มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ  37  ตารางกิโลเมตร หรือ  ประมาณ 23,125  ไร่

ภูมิประเทศ

     อบต.ย่านยาวมีลักษณะพื้นที่เป็นที่ราบลุ่มเป็นส่วนใหญ่เหมาะแก่การทำการเกษตรเนื่องจากดินมีคุณภาพและมีแหล่งน้ำที่สามารถนำน้ำมาใช้ประโยชน์ได้

อาณาเขตติดต่อ

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับ เทศบาลตำบลสามชุก อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี
  • ทิศใต้ ติดต่อกับ อบต.วังหว้า , อบต.วังน้ำซับ อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับ อบต.วังลึก อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับ อบต.บ้านสระ อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี

map01

จำนวนหมู่บ้าน 8 หมู่บ้าน

จำนวนหมู่บ้านในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล มีทั้งหมด  8  หมู่บ้าน    ได้แก่

  • หมู่ที่ 1 บ้านลำพระยา      
  • หมู่ที่ 2 บ้านวังหว้า
  • หมู่ที่ 3 บ้านย่านยาว
  • หมู่ที่ 5 บ้านวังหิน             
  • หมู่ที่ 6 บ้านบางขวาก      
  • หมู่ที่ 7 บ้านหนองแขม                                      
  • หมู่ที่ 8 บ้านย่านยาว                                        
  • หมู่ที่ 9 บ้านท่าทอง

ประชากร

     จากข้อมูลและสถิติประชากรตามทะเบียนราษฎร  ตำบลย่านยาวมีจำนวนประชากรรวมทั้งสิ้น ๕,๔๓๓ คน  แยกเป็นชาย ๒,๕๗๓ คน หญิง ๒,๘๖๐ คน จำนวนครัวเรือน  ๒,๐๒๔ ครัวเรือน ( ข้อมูล เดือน มีนาคม ๒๕๕๗ ) ความหนาแน่นของประชากรโดยเฉลี่ย  1๔๘.๘๑  คน / ตารางกิโลเมตร

ลำดับ 
หมู่บ้าน 
ครัวเรือน 
ชาย(คน) 
หญิง(คน) 
จำนวนประชากร 
1 บ้านลำพระยา  ๒๐๖ ๒๘๓ ๒๙๐ ๕๗๓
2 บ้านวังหว้า ๒๘๖ ๔๑๖ ๔๓๕ ๘๕๑
3 บ้านย่านยาว ๓๕๓ ๕๒๙ ๖๐๘ ๑,๑๓๗
4 บ้านวังหิน ๓๒๕ ๓๘๘ ๔๖๓ ๘๕๑
5 บ้านบางขวาก ๔๕๐ ๓๔๑ ๔๐๘ ๗๔๙
6 บ้านหนองแขม ๒๓๑ ๓๘๙ ๓๗๕ ๗๖๔
7 บ้านย่านยาว ๑๒๐ ๑๖๒ ๑๙๔ ๓๕๖
8 บ้านท่าทอง ๕๓ ๖๕ ๘๗ ๑๕๒
  รวม ๒,๐๒๔ ๒,๕๗๓ ๒,๘๖๐ ๕,๔๓๓

 

สภาพทางเศรษฐกิจ

อาชีพ

     ประชากรส่วนใหญ่ของตำบลย่านยาว  ประกอบอาชีพการเกษตรกรรม   เนื่องจากมีน้ำที่สมบูรณ์ และประกอบด้วยศักยภาพของดิน มีความเหมาะสมในการเพาะปลูก ซึ่งส่วนใหญ่ พืชปลูกได้แก่ ข้าว ซึ่งปลูกประมาณ 11,395 ไร่ รองลงมา คือ การปลูกไม้ดอก ผลไม้ และอื่นๆ ซึ่งมีเนื้อที่ประมาณ 6,000 ไร่ นอกจากการเกษตรกรรมแล้ว ยังประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป และค้าขายอาหาร ร้านค้าปลีก จำนวนหนึ่ง

หน่วยธุรกิจในเขต  องค์การบริหารส่วนตำบล

  • โรงงาน 1 แห่ง
  • โรงสีข้าว 2 แห่ง        

สภาพทางสังคม

การศึกษา

  • ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 3 แห่ง
  • โรงเรียนประถมศึกษา จำนวน 3 แห่ง
  • ศูนย์การเรียนชุมชน จำนวน 1 แห่ง
  • ที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้าน จำนวน 8 แห่ง
  • หอกระจายข่าว จำนวน 8 แห่ง
  • ศูนย์ข้อมูลประจำหมู่บ้าน จำนวน 8 แห่ง
  • ศูนย์ข้อมูลประจำตำบล จำนวน 1 แห่ง
  • ศูนย์ฝึกอาชีพ จำนวน 1 แห่ง

สถาบันและองค์กรทางศาสนา

  • วัด จำนวน 3 แห่ง

สาธารณสุข

  • สถานีอนามัยประจำตำบล จำนวน 2 แห่ง

ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

  • ที่พักสายตรวจ จำนวน 1 แห่ง

แหล่งน้ำธรรมชาติ

  • บึง ,  หนอง  และอื่น ๆ จำนวน 3 แห่ง
  • แม่น้ำ จำนวน 1 สาย

การบริการพื้นฐาน

การคมนาคม

     การคมนาคมทางบกโดยรถยนต์ ทั้งภายในตำบลและระหว่างตำบล  มีความสะดวกรวดเร็ว  เนื่องจากได้มีโครงการปรับปรุงถนนในเขตตำบลอย่างต่อเนื่อง  โดยมีเส้นทางที่สำคัญภายในตำบล  ดังนี้  

  • ถนนทางหลวงแผ่นดิน  หมายเลข 340    ผ่านตำบลย่านยาว นอกจากนี้ยังมีรถโดยสารประจำทางวิ่งให้บริการอีกด้วย

การโทรคมนาคม

  • ตู้โทรศัพท์สาธารณะ จำนวน 10 ตู้

การไฟฟ้า

  • ไฟฟ้าเข้าถึงครบทั้ง 8 หมู่บ้าน
  • จำนวนประชากรที่ใช้ไฟฟ้าคิดเป็นร้อยละ  80  ของประชากรทั้งหมดในตำบล

แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น

  • บ่อโยก จำนวน 3 แห่ง
  • ถังเก็บน้ำฝน จำนวน 12 แห่ง
  • ประปาหมู่บ้าน จำนวน 5 แห่ง

 

 

 

 

EX01

12345 001
แบบวัดการรับรู้
ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก (EIT)

เว็บไซต์ที่น่าสนใจ

karnjana
dla
newskm
1111
1567
cgd go th
thaihealth
egovernment
oag go th
samaphan.org
admincourt
สาระน่ารู้จากศาลปกครอง
สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ

Login Form

จำนวนผู้เยี่ยมชม

วันนี้273
เมื่อวานนี้439
สัปดาห์นี้712
เดือนนี้27481
ทั้งหมด531030